หัวข้อ   “ความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์”
    คำชี้แจง :   รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัว
                    ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัด
                    อยู่แต่อย่างใด

 
                 นักเศรษฐศาสตร์ 48.7% ไม่ค่อยเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีม
เศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของ
ประเทศ 30 แห่ง จำนวน 78 คน เรื่อง “
ความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อทีม
เศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11 - 18 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 48.7 ไม่ค่อยเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถ
ของทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์
  รองลงมาร้อยละ 28.2   มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมาก
ส่วนความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจ หรือ GDP ให้ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
ต่อปี ตามที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 44.9 เชื่อว่า “สามารถทำได้”
  ขณะที่ร้อยละ 24.4
เชื่อว่า “ไม่สามารถทำได้”   ส่วนความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการราคาสินค้า หรือ
ภาวะเงินเฟ้อ ไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 5 ต่อปีนั้น ร้อยละ 43.6 เชื่อว่า “ไม่สามารถบริหาร
จัดการได้”
  ขณะที่ร้อยละ 35.9 เชื่อว่า “สามารถบริหารจัดการได้”
 
                 สำหรับความเห็นต่อประเด็นการกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555 ตามที่
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือไว้กับสภาพัฒน์ฯ นั้น   นักเศรษฐศาสตร์มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57.7) เห็นว่า รัฐบาล
ชุดใหม่ควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555 ตามกรอบเดิม
  ด้านความเห็น
ต่อประเด็นที่ว่า   ปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลังบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศแถบตะวันตกในเวลานี้   จะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจไทยเหมือนเมื่อครั้งเกิด Hamburger Crisis ในช่วงปลายปี 2551  อย่างไร นักเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งเช่นกัน
(ร้อยละ 61.5)  เห็นว่าผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมา เมื่อถามถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจของ
ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มยูโรโซน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 43.6 เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่
ภาวะปกติภายใน 4-5 ปี
  รองลงมาร้อยละ 30.8   เชื่อว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5-10 ปี
 
                 ด้านข้อเสนอที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอกทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง
ของประเทศ รวมถึงการแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อรัฐสภา คือ (1) ให้บริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ
คำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน วิเคราะห์
สถานการณ์ให้แจ่มชัด และไม่มีการคอร์รัปชันรวมถึงการหวังผลทางการเมือง (ร้อยละ 33.3)
   (2) ให้รักษา
วินัยทางการเงินการคลังอย่างยิ่งยวด บริหารหนี้สาธารณะอย่างเคร่งครัด โดยดูบทเรียนจากสิ่งที่ประเทศตะวันตกกำลัง
ประสบอยู่ (ร้อยละ 28.9)   (3) ให้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อซึ่งจะสร้างความ
ลำเค็ญให้กับประชาชน   โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ  จากนโยบายของรัฐบาลเลย (ร้อยละ 22.2)
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจ ครม. ยิ่งลักษณ์
                 (นำทีมโดย คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ (เศรษฐกิจ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
                 พาณิชย์   คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากที่สุด
0.0
เชื่อมั่นค่อนข้างมาก
28.2
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
48.7
ไม่เชื่อมั่นเลย
3.8
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
19.3
 
 
             2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ว่าจะสามารถบริหารเศรษฐกิจ หรือ GDP
                 (ณ ราคาประจำปี) ให้ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ตามที่หาเสียงไว้


 
ร้อยละ
เชื่อว่า “สามารถทำได้”
44.9
เชื่อว่า “ไม่สามารถทำได้”
24.4
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
30.7
 
 
             3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ว่าจะสามารถบริหารจัดการราคาสินค้า หรือ ภาวะเงินเฟ้อ
                 (ทั่วไป)
ไม่ให้สูงกว่าร้อยละ 5 ต่อปี (เงินเฟ้ออย่างอ่อนที่ระดับไม่เกินร้อยละ 5 ถือว่าไม่อยู่ใน
                 ระดับที่อันตราย และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุน)

 
ร้อยละ
เชื่อว่า “สามารถบริหารจัดการได้”
35.9
เชื่อว่า “ไม่สามารถบริหารจัดการได้”
43.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
20.5
 
 
             4. ความเห็นที่มีต่อรัฐบาลชุดใหม่ว่าควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่งบสมดุล
                 ภายใน ปี 2555
  ตามที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือไว้กับสภาพัฒน์ฯ หรือไม่

 
ร้อยละ
เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่มีความจำเป็นต้องกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณ
ให้กลับสู่งบสมดุลภายใน ปี 2555
11.5
เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณให้กลับสู่
งบสมดุลภายใน ปี 2555
57.7
เห็นว่า รัฐบาลชุดใหม่ไม่จำเป็นต้องกำหนดกรอบนโยบายงบประมาณ
สมดุลภายใน ปี 2555
25.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
5.2
 
 
             5. ความเห็นต่อปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลังบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศแถบตะวันตกในเวลานี้ 
                 ว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเหมือนเมื่อครั้งเกิด Hamburger Crisis ในช่วงปลายปี
                 2551 อย่างไร


 
ร้อยละ
ผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงกว่ารอบที่ผ่านมา
25.6
ผลกระทบรอบนี้จะรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมา
61.5
ผลกระทบรอบนี้ จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ
7.7
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
5.2
 
 
             6. ความเห็นต่อประเด็น ระยะเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและ
                 กลุ่มยูโรโซน จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ


 
ร้อยละ
ภายใน 1 - 3 ปี
17.9
ภายใน 4 - 5 ปี
43.6
ภายใน 5 - 10 ปี
30.8
มากกว่า 10 ปี
2.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
5.1
 
 
             7. สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอกทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเงิน
                 การคลังของประเทศ รวมถึงการแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อรัฐสภา
                
(เป็นข้อคำถามปลายเปิดตอบได้อย่างอิสระ)


 
ร้อยละ
1. บริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบอย่าง
    รอบด้าน ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีกรอบการดำเนินงาน
    ที่ชัดเจน วิเคราะห์สถานการณ์ให้แจ่มชัด และไม่มีการคอร์รัปชัน
    รวมถึงการหวังผลทางการเมือง ที่สำคัญหากรู้ว่ามาผิดทาง
    ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
33.3
2. รักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างยิ่งยวด บริหารหนี้สาธารณะ
    อย่างเคร่งครัด โดยดูบทเรียนจากสิ่งที่ประเทศตะวันตกกำลัง
    ประสบอยู่
28.9
3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ
    ซึ่งจะสร้างความลำเค็ญให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับ
    ผลประโยชน์ใดๆ จากนโยบายของรัฐบาลเลย
22.2
4. ควรพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
6.7
5. อื่นๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้มีความจำเป็นต้องกระตุ้น
    เศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง ควรต่อยอดโครงการดีๆ ของรัฐบาล
    ชุดเก่าด้วย เป็นต้น
8.9
                 หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 45 คน
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
                      โดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิด
                      ประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   บริษัททริสเรทติ้ง
               ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์
               ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ
               บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า
               บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซียไซรัส   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัย
               วลัยลักษณ์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
               คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบาย
               สาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   และอาจารย์คณะ
               เศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 11 - 18 สิงหาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 สิงหาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
32
41.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
27
34.6
             สถาบันการศึกษา
19
24.4
รวม
78
100.0
เพศ:    
             ชาย
39
50.0
             หญิง
39
50.0
รวม
78
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
33
42.3
             36 – 45 ปี
20
25.6
             46 ปีขึ้นไป
25
32.1
รวม
78
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
3.8
             ปริญญาโท
60
77.0
             ปริญญาเอก
15
19.2
รวม
78
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
17
21.8
             6 - 10 ปี
27
34.6
             11 - 15 ปี
7
9.0
             16 - 20 ปี
7
9.0
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
20
25.6
รวม
78
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776